ทำรั้วบ้าน ต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่?

Facebook
Twitter
Email
Pocket

รั้ว เป็นอาคารหรือไม่? ต้องขออนุญาตก่อสร้างก่อนไหม?

คำว่า “รั้วบ้าน” หลาย ๆ คน อาจจะคิดว่า ไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่โตอะไร ไม่ใช่หรือไม่เหมือนกับ “อาคาร” ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้างก็ได้ ถ้าทุกคนคิดแบบนี้อาจจะมีความผิดได้ในอนาคตก็ได้ ในคำจำกัดความของกฎหมายเรื่องของอาคารบ้านเรือน คำว่า “อาคาร” ไม่ใช้แค่สิ่งปลูกสร้างที่ใช้อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง “รั้ว” ด้วย ในกรณีเดียวกัน หากการจะสร้างอาคารบ้านเรือนต้องขออนุญาติก่อสร้าง การสร้างรั้วก็จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้างรั้วด้วยเช่นกันตามข้อกำหนดอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้

ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้ “อาคาร” หมายถึง “…ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนด…” โดย กฎกระทรวงกำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 กำหนดให้สิ่งก่อสร้างใดก็ตามที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร เข้าข่ายเป็น “อาคาร” ด้วย 

กำหนดให้สิ่งก่อสร้างใดก็ตามที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร เข้าข่ายเป็น “อาคาร” และต้องขออนุญาตก่อสร้างตามที่กฎหมายกำหนด

ในทางกฎหมายรั้วไมได้มีการกำหนดรูปแบบไว้ตายตัว ไม่จำเป็นต้องเป็นรั้วทึบ รั้วโปร่ง หรือสวยงาม แต่จะมีการกำหนดให้มีการปาดมุมกับรั้วที่ติดกับที่ดินสารธารณะ และต้องหักไม่ไม่น้อยกว่า 135 องศา เป็นไปตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2535)

ข้อ 5 กำหนดว่า “รั้วหรือกำแพงกั้นเขตที่อยู่มุมถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป และมีมุมหักน้อยว่า 135 องศา ต้องปาดมุมรั้วหรือกำแพงกั้นเขตนั้น โดยให้ส่วนที่ปาดมุมมระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับเนวถนนสาธารณะเป็นมุมเท่า ๆ กัน”   โดยเฉพาะใน กรุงเทพฯ จะมีการกำหนดให้รั้วที่อยู่ติดมุมถนน ที่กว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน 8 เมตร ที่รั้วต้องปาดมุม และต้องไม่มีส่วนใดของรั้ว กำแพง หรืออาคารยื่นล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนที่ปาดมุม วัตถุประสงค์ก็น่าจะเพื่อความปลอดภัยและไม่ให้เกิดความเสียหาย (ของทั้งรถและทั้งรั้ว) ในการเลี้ยวรถบนถนนที่มีความกว้างไม่มากนัก

การสร้างรั้วบ้าน หากส่วนรากฐาน หรือปลายรั้ว สามารถโผล่หรือยื่นไปในที่ดินสาธารณะ ได้หรือไม่?

ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544  ในส่วนของการสร้างรั้วที่ติดกับที่ดินสาธารณะหรือที่ดินเอกชน ต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่ง ยื่นหรือโผล่ มาจากแนวรั้ว ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของที่อยู่บนดิน เช่น ทำลวดหนามยื่นออกไป ติดลวดหนามหีบเพลง ติดรั้วไฟฟ้าบนกำแพงปูน หรือในส่วนของรากฐานที่อยู่ใต้ดิน คานดิน คานปูน ต้องไม่ควรมีส่วนใดยื่นออกไปจากพื้นที่ของเจ้าของ เว้นแต่หากว่าเป็นรั้วที่เป็นรั้วระหว่างเอกชนกับ เอกชน ก็สามารถคุยกัน ตกลงกันว่า ในส่วนของรั้ว ไม่ว่าจะเป็นรากฐานหรือ ส่วนบนสามารถยื่นเลยได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคนทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจำเป็นต้องคุยกันก่อนที่จะสร้างรั้ว เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาที่หลัง

สุดท้ายแล้วทางรั้วตาข่ายไวน์แมนอยากจะฝากว่า ไม่ว่าจะยังไงในการสร้างรั้ว ก็ยังอยู่ในส่วนของกฎหมายอาคาร เพื่อป้องกันปัญหายังไงก็จำเป็นต้องขออนุญาตในการสร้างถึงจะลงมือสร้างรั้วบ้านได้ ซึ่งถ้าเป็นการสร้างรั้วตาข่ายไวน์แมนมีข้อดีตรงที่ว่า ติดตั้งง่าย และสามารถติดตั้งชั่วคราวได้ รื้อเก็บได้ บางคนอาจจะไม่อยากไปขออนุญาตการสร้างรั้ว การติดตั้งรั้วไวน์แมนก็อาจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างรั้วที่ไม่ต้องดำเนินขั้นตอนให้ยุ่งยากเหมือนรั้วกำแพงปูนทั่ว ๆ ไป ทั้งประหยัด ทั้งเร็วกว่า อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่คิดจะล้อมรั้ว

Facebook
Twitter
Email
Pocket

สินค้าแนะนำสำหรับรั้วบ้าน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสั่งซื้อสินค้า ติดต่อได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

บทความล้อมรั้วน่ารู้