- หน้าแรก
- รู้เรื่องรั้ว
- เคล็ดลับที่จะทำให้รั้วตาข่ายแข็งแรง
เคล็ดลับที่จะทำให้รั้วตาข่ายแข็งแรง
เคล็ดลับรั้วสำคัญที่จะทำให้ระบบรั้วมีความแข็งแรง ใช้งานได้นาน
หลายคนคงรู้กันอยู่แล้วว่าปัจจุบัน รั้วตาข่ายไวน์แมนกำลังเป็นที่นิยม ใช้งานแทนลวดหนามสมัยก่อนกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานล้อมพื้นที่ ล้อมบ้าน ล้อมสวน ล้อมที่ดิน ล้อมปศุสัตว์ ล้อมไร่นา ฯลฯ เหตุผลหลัก ๆ ที่รั้วตาข่ายไวน์แมนเข้ามาตอบโจทย์ในส่วนนี้ และมีเสียงตอบรับเป็นอย่างดีคือ เรื่องของการใช้งาน คงต้องยอมรับกันจริง ๆ เลยว่ารั้วลวดหนามทั่วไปที่เราใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ไม่สามารถกันอะไรได้เลย ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์ หรือแม้กระทั่งการล้อมที่แบบธรรมดา ลวดหนามทั่วไปก็ยังไม่ตอบโจทย์ เพราะลวดหนามทั่วไปเป็นสนิม ขาดง่าย อายุการใช้งานไม่เพียงพอกับการใช้งานจริง ล้อมไป 3-6 เดือนก็เริ่มเป็นสนิม 1-2 ปี ก็ผุพังขาดไปในที่สุด
ทางระบบรั้วตาข่ายไวน์แมนเห็นถึงความสำคัญในข้อนี้ จึงได้นำสินค้ารั้วตาข่ายเข้ามาจัดจำหน่ายให้คนไทย ได้ใช้งานสินค้าที่มีประสิทธิภาพ และคุณภาพที่ดี สามารถใช้งานได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแบบไหน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ในการซ่อมแซม หรือเปลี่ยน ลวดหนามที่ผุพังกัน หลาย ๆ ครั้ง ช่วยให้ใครหลาย ๆ คนประหยัดค่าใช้จ่าย มีเงินเก็บไว้ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
รั้วตาข่ายไวน์แมน เป็นรั้วตาข่ายที่ติดตั้งง่ายมาก ง่ายกว่าลวดตาข่ายถักตามท้องตลาด ไม่ต้องเชื่อมเหมือนตาข่ายถัก ไม่ต้องทำกรอบเหล็ก ไม่ต้องเสียเวลามานั่งต่อตาข่าย ติดตั้งเร็วกว่า ง่ายกว่าเยอะมาก เคล็ดลับการติดตั้งในส่วนของรั้วตาข่าย ให้มีความแข็งแรง ทนทาน ง่ายในการติดตั้ง รับรองว่าถ้าติดตั้งไปแล้วเพียงครั้งเดียว ครั้งต่อไปจะไม่ใช้รั้วแบบอื่นอีกเลย
เคล็ดลับความแข็งแรงในการติดตั้งรั้วตาข่าย มีเพียง 3 สิ่งเท่านั้น คือ
- เสาต้นหลัก หรือ เสารับแรง (เสาต้นแรก และ ต้นสุดท้ายในแนวตรง)
- การดึงตาข่าย
- ความแข็งแรงของรั้วตาข่าย
เสาต้นหลัก หรือ เสารับแรง (เสาต้นแรกและต้นสุดท้ายในแนวตรง)
เสาต้นหลัก หรือ เสารับแรง (เสาต้นแรก และ ต้นสุดท้ายในแนวตรง) เป็นจุดที่สำคัญเป็นอันดับแรกของการล้อมรั้วตาข่าย เสารับแรง หรือเสาต้นแรก ต้องแข็งแรง มีตัวค้ำยันทุกระยะ 50-70 เมตร สามารถใช้เป็น เสาไม้ เสาปูน หรือเสาเหล็กก็ได้ แต่ว่าต้องมีตัวค้ำยัน และมีขนาดที่แข็งแรง เพียงพอกับการรับแรงดึงของตัวตาข่ายทั้งแผง จึงต้องทำในส่วนของเสารับแรงให้แข็งแรง ต้องขุดหลุม เทปูนทุกจุดของชุดรับแรง ในส่วนของเสาค้ำยัน ถ้าเป็นเสาเหล็ก แนะนำให้ใช้วิธีการเชื่อม หรือถ้าหน้างานไม่มีไฟฟ้า แนะนำให้ใช้เป็นตัวข้อต่อสามทาง ที่ใช้ในการติดตั้งชุดรับแรงโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้พวก แฮงเกอร์ซัพพอร์ต เป็นตัวเชื่อมระหว่างเสาเหล็กกับเสาค้ำ เพราะแฮงเกอร์ซัพพอร์ต ไม่แข็งแรงเพียงพอต่อการรับน้ำหนักตาข่าย ที่สำคัญเป็นสนิมไวกว่าเสาเหล็กและสนิมอาจลุกล่ามไปกัดกินเสารับแรงด้วย ส่วนเสาปูน และเสาไม้ อาจจะวิธีการตอกตะปู หรือใช้น็อต ลวดสลิง รัดระหว่างเสาหลักกับเสาค้ำแทน
- ถ้าใช้เป็นเสาปูน หรือเสาไม้ ควรจะเป็นไม้เนื้อแข็ง จะต้องขนาดตั้งแต่ หน้า 4 ขึ้นไป เฉพาะตัวรับแรงจุดแรก ทำตัวค้ำยันให้แข็งแรง ส่วนเสาย่อย สามารถใช้เป็นขนาดหน้า 3 ได้ ทุกระยะ 4 เมตร
- ถ้าใช้เป็นเสาเหล็ก ขนาดที่นิยมใช้เป็นเสาหลักคือ 2” ขึ้นไป ทุกระยะ 50-70 เมตร ทุกจุดต้องทำตัวค้ำยัน ส่วนตัวเสาย่อย จะใช้เป็นขนาด 1-1/4” เว้นทุกระยะ 5 เมตร
การดึงตาข่าย
- ถ้าใช้เป็นเสาปูน หรือเสาไม้ ควรจะเป็นไม้เนื้อแข็ง จะต้องขนาดตั้งแต่ หน้า 4 ขึ้นไป เฉพาะตัวรับแรงจุดแรก ทำตัวค้ำยันให้แข็งแรง ส่วนเสาย่อย สามารถใช้เป็นขนาดหน้า 3 ได้ ทุกระยะ 4 เมตร
- ถ้าใช้เป็นเสาเหล็ก ขนาดที่นิยมใช้เป็นเสาหลักคือ 2” ขึ้นไป ทุกระยะ 50-70 เมตร ทุกจุดต้องทำตัวค้ำยัน ส่วนตัวเสาย่อย จะใช้เป็นขนาด 1-1/4” เว้นทุกระยะ 5 เมตร
ความแข็งแรงของรั้วตาข่าย
ความแข็งแรงของรั้วตาข่าย ในส่วนนี้อาจจะมีหลายคนที่มองข้ามไป บางคนก็คิดว่าใช้รั้วตัวไหน ยี่ห้อไหนก็ได้ ติดตั้งได้เหมือนกันหมด อยู่ที่ฝีมือ สำหรับคนที่เคยใช้งานรั้วตาข่ายของจริงมาแล้ว หรือช่างล้อมรั้วตาข่ายลงความเห็นว่า รั้วตาข่ายที่ไม่ได้คุณภาพ จะเป็นรั้วแรงดึงต่ำ ดึงแล้วคลายตัว หย่อน ไม่กลับคืนสภาพเดิม และในขณะติดตั้งอยู่ รั้วตาข่ายบางยี่ห้อ เวลาติดตั้งจริงขั้นตอนการดึงจะรู้เลยว่า ดึงเท่าไหร่ก็ไม่ตึง หรือบางเส้นตึง บางเส้นหย่อน ดึงยาก ติดตั้งยาก ทำให้หลายคนที่ซื้อรั้วตาข่ายที่ไม่ได้คุณภาพ มองเรื่องการติดตั้งเป็นเรื่องยากไปเลยก็ได้ ดังนั้นการเลือกใช้รั้วตาข่าย ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ สามารถเข้าไปอ่านได้จาก วิธีการเลือกรั้วตาข่าย ในบทความก่อนหน้านี้ได้
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสั่งซื้อสินค้า ติดต่อได้ตามช่องทางด้านล่างนี้