ระบบรั้วไวน์แมน ทนสนิม ใช้นาน 80 ปี
มาตรฐาน ASTM สหรัฐอเมริกา ยอดขายอันดับ 1

รั้วลวดหนาม คืออะไร?

Facebook
Twitter
Email
Pocket
ตัวอย่างลวดหนาม พร้อมรูปหนาม

จุดเริ่มต้นของลวดหนาม

รั้วลวดหนามผลิตด้วยลวดพันกับหนาม ลวดหนามเริ่มมีใช้ในยุค ค.ศ. 1800 เมื่อเกษตรกรมีความต้องการผลิตภัณฑ์รั้วมีลักษณะแหลมและราคาถูก เริ่มมีการออกแบบใช้ลวดพันกับหนาม หรือเรียกกันว่า “ลวดหนาม” ลวดหนามแบบพื้นฐานที่มีลวดหนาม 2-4 แฉก จากการใช้งานพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงและเป็นที่นิยมมาก รั้วลวดหนามถูกนำมาใช้เพื่อให้ผู้คนและสัตว์เข้าหรือออกจากพื้นที่ อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเลี้ยงปศุสัตว์หลายสายพันธุ์ เนื่องจากพวกสัตว์จะไม่เข้าไปใกล้รั้วอีกเพราะว่าหนามทำให้เจ็บ รั้วลวดหนามถูกใช้ไปทั่วโลกและมีสามารถใช้รวมกับผลิตภัณฑ์รั้วประเภทอื่นได้

ลวดหนามเบอร์ที่นิยมใช้

ลวดหนามมีเบอร์อะไรบ้าง เบอร์ของลวดหนาม หรือขนาดของลวดที่เอามาใช้ผลิตลวดหนาม แต่ละเบอร์มีขนาดต่างกัน เบอร์ลวดหนามที่ใช้กันแพร่หลายมาจากมาตรฐาน SWG (Standard Wire Gauge) เป็นมาตรฐานของ British Standard Wire Gauge (BS3737 : 1964) ที่ใช้ในแบบสากล รวมถึงประเทศไทยก็ใช้มาตรฐานนี้ ในปัจจุบันนิยมใช้ลวดหนามเบอร์ 13 เบอร์ 14 และ เบอร์ 15

ตารางเทียบเบอร์ลวดหนามเป็นมิลลิเมตร ตามมาตรฐาน SWG
เบอร์ลวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (มม.)
#103.20
#113.00
#122.65
#132.40
#142.00
#151.80

ลักษณะของหนาม

ลวดหนามในปัจจุบัน มีรูปแบบการพันหนามอยู่ 2 แบบ คือ

1. การพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)

เป็นการพันเกลียวลวดหนามแบบเก่า มีโอกาสที่หนามจะหลุด หรือเกลียวหนามอาจคลายได้ในส่วนของตัวเส้นลวดจะมีการพันเกลียวแบบหลวมๆ ไม่แน่น มีโอกาสที่ติดตั้งแล้วจะทำให้ลวดหนามหย่อนในอนาคต ตัวอย่างมีให้เห็นตามทั่วไป (ตามรูปด้านล่าง)

ตัวอย่างลวดหนาม ที่ใช้การพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)

2. การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist)

เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ ที่มีการพันเกลียวนามแบบไขว้สลับ ตัวหนามจะแน่นเป็นพิเศษ แข็งแรงไม่มีหลุด ที่สำคัญเส้นลวดจะมีการพันสลับที่แน่นกว่าแบบเดิม หรือแบบพันเกลียวปกติ ทำให้เพิ่มความแข็งแรงของลวดหนามที่พันเกลียวด้วยลักษณะนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีลวดหนามซิงค์อลูฯ ไวน์แมนก็มีการพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ ทำให้ขึงตึง ไม่หย่อน (ตามรูปด้านล่าง)

ตัวอย่างลวดหนาม ที่ใช้การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist)

การเคลือบสารกันสนิม หรือ การชุบซิงค์ของลวดหนาม

การเคลือบสารกันสนิมของลวดหนามในปัจจุบันหลัก ๆ มีการเคลือบอยู่ดังนี้คือ

การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electro Galvanized)

คือ กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในสารละลายเกลือของโลหะ (Metallic Salts) แล้วทำให้อิออนบวกวิ่งมารับประจุไฟฟ้าลบที่ชิ้นงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วลบ (Cathode) จึงทำให้เกิดเป็นชั้นผิวบางของโลหะมาเคลือบอยู่บนผิวด้านนอกของชิ้นงานการชุบซิงค์ จัดอยู่ในประเภทการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เป็นกระบวนการที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากสามารถนำโลหะ และอโลหะหลายชนิดมาทำการเคลือบผิว ในขณะเดียวกันก็สามารถเลือกโลหะที่จะนำมาเคลือบผิวได้หลากหลายชนิดด้วย ซึ่งการเคลือบในลักษณะนี้จะมีผิวเคลือบซิงค์ที่ค่อนข้างบางมาก ทำให้อายุการใช้งานของการชุบแบบนี้ อยู่ได้ไม่นานมากนัก อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-12 เดือน

การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน ( Hot-Dipped Galvanized)

โดยปัจจุบันกระบวนการเคลือบสารกันสนิมหรือการชุบซิงค์ได้ถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า การชุบซิงค์มีแบบจุ่มร้อน (Hot-Dipped Galvanized) ซึ่งปกติลวดหนามที่มีจำหน่ายในเมืองไทย ส่วนมากแล้วชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน แต่จะชุบเพียงแค่ 20- 50 กรัมเพียงเท่านั้น ซึ่งเฉลี่ยแล้วสามารถทนสนิมได้นานแค่ 1-2 ปีเท่านั้น เนื่องจากเป็นปริมาณที่น้อยเกินไป ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีกระบวนการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษขึ้นมา

ในต่างประเทศได้เริ่มใช้ลวดหนามชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนมานานหลายปีแล้ว การเคลือบสารป้องกันสนิมหรือชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษนั้น จะมีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนเฉลี่ย 235-250 กรัม/ตารางเมตร ในส่วนประเทศไทยนั้นเริ่มมีลวดหนามชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานแล้วเช่นกัน อย่างแบรนด์ลวดหนามเทวดาที่มีจำหน่ายอยู่ ลวดหนามที่มีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษทำให้มีอายุการใช้งานมากว่าลวดหนามทั่วไปในท้องตลาด เฉลี่ยอยู่ที่ 30 – 50 ปี

การชุบซิงค์อลูมิเนียม (ZnAl)

เป็นการป้องกันสนิมที่มีส่วนผสมของซิงค์และอลูมิเนียม (ZnAl) ทั้งนี้จะมีการระบุสัดส่วนและปริมาณอลูมิเนียมที่ผสม ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุดคือ ซิงค์อลู 10% (ZnAl 10%) เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน และเพิ่มอายุการใช้งานของเส้นลวด ทำให้ลวดหนามซิงค์อลูมีอายุการใช้งานยาวนานมากถึง 80 ปี*
ม้วนลวดหนาม ซิงค์อลูไวน์แมน

ลวดหนามซิงค์อลู นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สุดในโลกของการล้อมรั้วลวดหนาม ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีคนนิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะ คุณสมบัติ ช่องทางการจัดจำหน่าย และราคา ของลวดหนามซิงค์อลู ตอบโจทย์การใช้งานและดีกว่าลวดหนามทั่วไปที่ใช้กันในปัจจุบันที่มีปัญหาเรื่องของลวดหนามเป็นสนิม ทำให้ต้องเปลี่ยน หรือซ่อมแซมลวดหนามอยู่บ่อยครั้ง ทางรั้วตาข่ายไวน์แมน เข้าใจถึงปัญหาและค้นหาพัฒนาลวดหนามซิงค์อลูเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน ผลิตจาก ลวดทนแรงดึงสูงที่มีคุณสมบัติเป็นลวดกึ่งสปริง มีความแข็งแรง คงทน ไม่หย่อน ไม่ขาดง่าย สามารถรับแรงปะทะหรือแรงกระแทกได้สูงสุดถึง 1100-1200 นิวตัน/ตร.มม. (เทียบเป็นหน่วยปกติ รับน้ำหนักได้เฉลี่ย 285 กก.) ซึ่งจุดเด่นของการใช้ลวดแรงดึงสูงทำให้ลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมนสามารถใช้เสารั้วระยะห่าง 4 เมตร โดยที่ขึงตึง ไม่หย่อน ไม่ขาดง่าย

ตัวอย่างระยะห่างเสาที่ใช้ ลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน มีระยะห่างได้ถึง 4 เมตร/ต้น โดยไม่หย่อน

นอกจากนี้ลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมนยังเคลือบสารกันสนิมด้วยการชุบซิงค์อลููมิเนียม 10% (ZnAl) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า สสารอลูมิเนียมไม่ขึ้นสนิม ดังนั้นลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมนมีส่วนผสมของอลูมิเนียมมากถึง 10% ลงไปในการกระบวนการเคลือบสารป้องกันสนิม ตามมาตรฐาน ASTM สหรัฐอเมริกา ส่วนหนามเคลือบสีดำเพิ่มความโดดเด่น ทนสนิมมากกว่าลวดหนามชุบซิงค์ทั่วไป ทำให้เพิ่มอายุการใช้งานของลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมนให้ยาวนานขึ้น อายุการใช้งานนาน 80 ปี* (ทนสนิมมากกว่า 14 เท่า ของการชุบซิงค์ทั่วไป) สามารถดูคุณสมบัติพิเศษของลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมนได้ที่นี่

ประโยชน์และข้อดีของลวดหนาม

ป้องกันการบุกรุก

การล้อมรั้วด้วยลวดหนาม สามารถป้องกันการบุกรุกพื้นที่บ้าน และ ส่วนต่าง ๆ ภายในที่ดินจากบุคคลภายนอก เป็นการป้องกันอันตรายและป้องกันการโจรกรรมทั้งที่ดินและ ทรัพย์สินภายในบ้าน

กั้นสัตว์

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้ว สำหรับล้อมลวดหนาม สามารถล้อมกั้นสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ ไม่ให้เข้ามาให้พื้นที่เราได้ ป้องกันความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากสัตว์ได้ อย่างน้อย ๆ ก็ป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านั้นเข้ามา ถ่ายของเสีย ในที่ของเรา

ประหยัด

รั้วลวดหนามในปัจจุบัน ถือว่าเป็นรั้วที่มีต้นทุนการสร้างรั้วที่ถูกที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งถ้าเทียบกับรั้วประเภทอื่นแล้ว เราสามารถประหยัดเงินจากการล้อมรั้วได้ค่อนข้างเยอะ ด้วยเหตุนี้ ตามต่างจังหวัด จึงนิยมนำรั้วลวดหนามไปใช้ล้อมพื้นที่ ที่ไม่ใช้บ้าน เป็นที่ดินเปล่า ที่นา สวน ฯลฯ เพียงแค่ต้องการกั้น หรือล้อมเพื่อเป็นอาณาเขตเพียงเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้รั้วที่ราคาแพง แข็งแรงอะไรมาก ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้

ติดตั้งง่าย

ลวดหนามเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้รับเหมาหรือช่างทั่วไปก็สามารถติดตั้งได้เพราะขั้นตอนไม่ซับซ้อน หรือแม้กระทั่งเจ้าของอยากทำเองก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงติดตั้งเสารั้วตามแนวรั้ว และดึงลวดหนามไปตามแนวรั้ว ดูวิธีการติดตั้งลวดหนามเพิ่มเติม

หาซื้อง่าย

ลวดหนามเป็นสินค้าที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ตามร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไปเกือบทุกร้าน ต้องมีลวดหนามจำหน่ายอยู่แล้ว เราสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าใกล้บ้าน

วิธีการติดตั้งลวดหนาม

1. ตั้งเสาให้แข็งแรง

ขั้นตอนแรกของการล้อมรั้วคือ การตั้งเสา เสาที่ใช้กับลวดหนาม สามารถใช้ได้กับเสาทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเสาไม้ เสาปูน เสาเหล็กก็สามารถใช้กับลวดหนามได้ทั้งหมด การติดตั้งเสา ควรติดตั้งเสาให้แข็งแรง ต้นแรก หรือ ต้นสุดท้ายควรมีการทำค้ำยัน หรืออาจจะทำทุกระยะ 30-50 เมตร เพื่อป้องกันการล้มของเสา ส่วนรากฐาน ควรขุดหลุมเทปูน ให้เรียบร้อยป้องกันการโยกของเสาแต่ละต้น ส่วนระยะห่างของลวดหนามทั่วไปอยู่ที่ 2-2.5 เมตร/ต้น แต่ถ้าหากเป็นลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมนระยะเสารั้วสามารถห่างได้ถึง 4-5 เมตร/ต้น

2. ดึงลวดหนามให้ตึง

หลังจากที่เราได้ตั้งเสาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การติดตั้งลวดหนามกับเสาที่ได้จัดเตรียมไว้ โดยปกติการติดตั้งลวดหนาม จะดึงทีละต้น โดยใช้ชะแลง เป็นตัวช่วยดึงลวดหนามให้ดึง หากไม่ดึงให้ตึงแล้ว อนาคตอาจจะทำให้ลวดหนามหย่อนยานและหลุดได้

3. ยึดลวดหนามติดกับเสา

วิธีการยึดลวดหนามกับเสามีหลายวิธี เช่น ใช้ตะปูตอกพับ ระหว่างเสากับลวดหนาม ใช้กิ๊บลวดหนาม ล็อคระหว่างเสากับลวดหนาม โดยปกติเสาจะมีรูให้สำหรับใส่ตัวกิ๊บล็อค ลวดหนามอยู่แล้ว ทำให้สามารถตอกกิ๊บลงไปในรู ส่วนอีกฝั่งทำการตีล็อคป้องกันการหลุดได้ หรือจะเป็นการใช้ลวดผูกระหว่าง เสากับตาข่าย โดยวิธีนี้ถือว่าทนและแข็งแรง ไม่มีหลุด สามารถใช้ลวดทั่วไปผูกได้ คำเตือน ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน ก่อนการติดตั้งทุกครั้ง เช่น ถุงมือ เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ทุกครั้งเนื่องจากลวดหนามมีลักษณะคม อาจทำให้เกิดบาดแผลได้

เคล็ดลับความแข็งแรงของลวดหนาม

ปกติแล้วลวดหนามจะมีปัญหาเรื่องของการเป็นสนิม และขาดทำให้ต้องรื้อถอนและซ่อมแซมอยู่บ่อย ๆ อายุ การใช้งานลวดหนามปกติอยู่ได้เพียงแค่ 1-2 ปี เท่านั้น หากต้องการใช้งานยาวนานกว่านั้นอาจจะต้องใช้เป็นลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน ทนสนิมมากกว่า อายุการใช้งาน 80 ปี* เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของลวดหนามให้ยาวนานขึ้น

สุดท้ายฝากสำหรับคนที่คิดจะล้อมลวดหนาม หากต้องการล้อมลวดหนามเพื่อกั้นอาณาบริเวณ ควรเลือกใช้ลวดหนามที่มีคุณภาพ ใช้งานได้ยาวนาน ไม่ต้องเสียเวลา เสียเงินทอง ซ่อมแซมรั้วลวดหนามอยู่บ่อย ๆ หากยังคิดไม่ออกว่าจะใช้ยี่ห้อไหน ลองใช้ลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน ที่มีอายุการใช้งานยาวนานมากถึง 80 ปี* มีวางจำหน่ายตามทั่วไป ที่ห้าง ไทวัสดุ โฮมโปร เมกาโฮม หรือร้านค้าใกล้บ้าน หาซื้อง่ายมาก ใช้แล้วจะลืมลวดหนามแบบเดิม ๆ ไปเลย

*ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและการใช้งาน

Facebook
Twitter
Email
Pocket

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสั่งซื้อสินค้า ติดต่อได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

บทความล้อมรั้วน่ารู้