ระบบรั้วไวน์แมน ทนสนิม ใช้นาน 80 ปี
มาตรฐาน ASTM สหรัฐอเมริกา ยอดขายอันดับ 1

รู้ยัง..พืชชนิดไหน ปลูกแล้วเสียภาษีที่ดินน้อย

Facebook
Twitter
Email
Pocket

อย่าปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า! เพราะภาษีที่ดินว่างเปล่าเพดานสูงกว่าภาษีที่ดินเกษตรกรรม! เพื่อน ๆ หลายคนอาจผ่านหูผ่านตาที่ดินเกษตรกรรมไร่กล้วยกลางกรุงเทพหลายสิบไร่ เพื่อลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จัดเก็บตามมูลค่าที่ดิน บทความนี้ เราจะมาดูกันว่า การปลูกพืชไร่เพื่อลดอัตราภาษีนั้นสามารถทำได้หรือไม่? และมีพืชชนิดไหนบ้างที่จัดว่าเป็นพืชเกษตรกรรม

 

รู้หรือไม่? ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จัดเก็บตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จัดเก็บโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยจัดเก็บเจ้าของที่ดินทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม หรือแม้แต่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงภาษีได้

ถ้าปล่อยที่ดินว่างเปล่าจะเสียภาษีเท่าไหร่?

หลาย ๆ คนอาจคิดว่า ปล่อยให้ที่ดินว่างเปล่า รกร้าง ไม่มีการใช้ประโยชน์จะทำให้เสียภาษีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างน้อยลง แต่จริงๆ แล้วพื้นที่ว่างเปล่ายังคงต้องเสียภาษีในเพดานภาษีสูงสุด 1.2% และปรับเพิ่มอัตราทุก 3 ปี รวมไม่เกิน 3% ดังนี้  

  • ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตรา 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตรา 0.4% หรือล้านละ 4,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตรา 0.5% หรือล้านละ 5,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตรา 0.6% หรือล้านละ 6,000 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.7% หรือล้านละ 7,000 บาท

ทำไมภาษีที่ดินรกร้างจึงสูงกว่าที่ดินเกษตรกรรม?

การจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างในอัตราสูง นั่นเพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้สูงที่สุด และป้องกันการซื้อที่ดินไว้เก็งกำไร ทำให้เจ้าของที่ดินรกร้างพัฒนาที่ดินมาเป็นเกษตรกรรม ซึ่งภาษีที่ดินเกษตรกรรมมีเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15% ต่างจากภาษีที่ดินว่างเปล่าที่มีเพดานภาษีสูงสุด 1.2%

ลักษณะของที่ดินเกษตรกรรมเป็นอย่างไร?

คำว่า “ที่ดินเกษตรกรรม” ไม่ใช่ว่าปลูกแค่ต้นไม้ 4-5 ต้น แต่ต้องปลูกต้นไม้ตามที่กระทรวงเกษตร และสหกรณ์กำหนดด้วย เช่น ปลูกกล้วยต้องไม่ต่ำกว่า 200 ต้น/ไร่ , ปลูกทุเรียน, เงาะ, มะม่วง, มะพร้าว, ลิ้นจี่,

ลำไย ต้องไม่ต่ำกว่า 20 ต้น/ไร่ ถ้าปลูกน้อยกว่าที่กำหนดไว้ไม่ถือว่าเป็นที่ดินเพื่อการเกษตร

กรณีเลี้ยงปศุสัตว์ หรือเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ก็จะมีกำหนดอัตราขั้นต่ำ เช่น เลี้ยงโคหรือกระบือในคอก

ขนาด 7 ตารางเมตร/ตัว และใช้ที่ดิน 1 ตัว ต่อ 5 ไร่, เลี้ยงเป็ดและไก่ 4 ตารางเมตร/ตัว เป็นต้น

 

ลดอัตราภาษีด้วยการปลูกพืชไร่ได้จริงหรือไม่?

ประกาศของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า การประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจ แบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสมที่มีชนิดพืชดังต่อไปนี้จะต้องประกอบการเกษตร ให้ได้อัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้  จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรม

สำหรับ อัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีกำหนดเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15% คือ

  • ที่ดินมูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

โดยในส่วนนี้หากมีการทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่จะเสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์

พืชชนิดใดปลูกแล้วเสียภาษีที่ดินน้อยในอัตราที่ดินเกษตรกรรม?

พืชที่เข้าข่ายปลูกให้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีทั้งสิ้น 51 ชนิด ดังนี้

 

ชื่อ

อัตราปลูกขั้นต่ำ (ต้นต่อไร่)

1

กล้วยหอม

200

2

กล้วยไข่

200

3

กล้วยน้ำว้า

200

4

กระท้อนเปรี้ยว

25

5

กาแฟ

170

6

กานพลู

20

7

กระวาน

100

8

โกโก้

150-170

9

ขนุน

25

10

เงาะ

20

11

จำปาดะ

25

12

จันทร์เทศ

25

13

ชมพู่

45

14

ทุเรียน

20

15

ท้อ

45

16

น้อยหน่า

170

17

นุ่น

25

18

บ๊วย

45

19

ปาล์มน้ำมัน

22

20

ฝรั่ง

45

21

พุทรา

80

22

แพสชั่นฟรุ๊ต

400

23

พริกไทย

400

24

พลู

100

25

มะม่วง

20

26

มะพร้าวแก่

20

27

มะพร้าวอ่อน

20

28

มะม่วงหิมพานต์

45

29

มะละกอ

100 ต้นต่อไร่ (ไม่ยกร่อง) อัตราปลูกขั้นต่ำ 175

30

มะนาว

50

31

มะปราง

25

32

มะขามเปรี้ยว

25

33

มะขามหวาน

25

34

มังคุด

16

35

ยางพารา

80

36

ลิ้นจี่

20

37

ลำไย

20

38

ละมุด

45

39

ลางสาด

45

40

ลองกอง

45

41

ส้มโอ

45

42

ส้มโอเกลี้ยง

45

43

ส้มตรา

45

44

ส้มเขียวหวาน

45

45

ส้มจุก

45

46

สตอเบอรี่

1

47

สาลี่

45

48

สะตอ

25

49

หน่อไม้ไผ่ตง

25

50

หมาก

100-170

51

พืชกลุ่มให้เนื้อไม้

100

สรุป

เจ้าของที่ดินสามารถลดอัตราภาษีที่ดินได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ให้เป็นที่ดินเกษตรกรรม แต่จะต้องมีการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและปศุสัตว์ อีกทั้งต้องมีผู้ดูแลไม่ให้ที่ดินรกร้าง เพราะจะมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ อทป. อยู่เสมอ และหากใช้ที่ดินไม่เกิดประโยชน์ตามที่แจ้ง อาจทำให้ต้องจ่ายค่าปรับและถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังอีกด้วย

Facebook
Twitter
Email
Pocket

สินค้ารั้วตาข่ายแนะนำ

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสั่งซื้อสินค้า ติดต่อได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

บทความล้อมรั้วน่ารู้