- หน้าแรก
- วิธีการติดตั้ง
รับเหมาติดตั้งรั้วตาข่าย / ลวดหนาม
รั้วตาข่ายไวน์แมนมีช่างรับเหมาติดตั้งรั้วตาข่าย เป็นช่างมืออาชีพติดตั้งรั้วตาข่ายมีประสบการณ์หลายปี ติดตั้งรั้วตาข่ายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ รับประกันการติดตั้งรั้วให้แข็งแรง ตึง ไม่หย่อน ช่างรับเหมาติดตั้งรั้วตาข่ายรับติดตั้งรั้วตาข่าย 100 เมตรขึ้นไป ราคาติดตั้งรั้วตาข่ายเริ่มต้น 250 บาท/เมตร (รวมทั้งค่าของและค่าแรง) ราคาติดตั้งขึ้นอยู่กับความสูงของรั้วตาข่ายและสภาพพื้นที่การติดตั้ง เสารั้วและตาข่ายไวน์แมน รวมถึงอุปกรณ์ได้รับมาตรฐานสากล
ตัวอย่างการติดตั้งรั้วตาข่ายไวน์แมนโดยช่างมืออาชีพ
ติดต่อขอราคาติดตั้งรั้วตาข่าย / ลวดหนาม
วิธีการติดตั้ง
VDO แนะนำการติดตั้งรั้วตาข่าย - ลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน และการใช้อุปกรณ์ติดตั้งรั้วไวน์แมน
การติดตั้งรั้วตาข่ายไวน์แมนและลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน สามารถติดตั้งเองได้ง่ายใช้ได้กับเสาทุกประเภท ระยะห่างเสา 4-5 เมตร สามารถติดตั้งเองได้ง่ายๆ
วิธีการการติดตั้งรั้ว โดยใช้รอกสลิงมือโยก และประกับเหล็ก ดึงตาข่ายให้ตึง
วิธีการติดตั้งรั้ว โดยใช้รอกสลิงมือโยก และประกับไม้ ดึงตาข่ายให้ตึง
วิธีใช้ที่พันลวดของไวน์แมน
วิธีต่อรั้วตาข่ายไวน์แมน ในกรณีที่ความยาวไม่พอ
วิธีติดตั้งลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน
รับเหมาติดตั้งรั้วตาข่าย / ลวดหนาม
รั้วตาข่ายไวน์แมนมีช่างรับเหมาติดตั้งรั้วตาข่าย เป็นช่างมืออาชีพติดตั้งรั้วตาข่ายมีประสบการณ์หลายปี ติดตั้งรั้วตาข่ายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ รับประกันการติดตั้งรั้วให้แข็งแรง ตึง ไม่หย่อน ช่างรับเหมาติดตั้งรั้วตาข่ายรับติดตั้งรั้วตาข่าย 100 เมตรขึ้นไป ราคาติดตั้งรั้วตาข่ายเริ่มต้น 250 บาท/เมตร (รวมทั้งค่าของและค่าแรง) ราคาติดตั้งขึ้นอยู่กับความสูงของรั้วตาข่ายและสภาพพื้นที่การติดตั้ง เสารั้วและตาข่ายไวน์แมน รวมถึงอุปกรณ์ได้รับมาตรฐานสากล
ตัวอย่างการติดตั้งรั้วตาข่ายไวน์แมนโดยช่างมืออาชีพ
ติดต่อขอราคาติดตั้งรั้วตาข่าย / ลวดหนาม
ขั้นตอนการติดตั้งรั้วไวน์แมน
ขั้นตอนการติดตั้งรั้วตาข่ายไวน์แมนให้ “ตึง สวย แข็งแรง” มีขั้นตอนง่าย ๆ เพียง 4 ขั้นตอน สามารถทำเองได้ตามขั้นตอนการติดตั้งรั้วตาข่าย ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1: การติดตั้งชุดรับแรง
วิธีการติดตั้งรั้วไวน์แมน หรือรั้วลวดหนาม ตามทั่วไป อันดับแรกเลยคือ
ขุดหลุม ตั้งเสา ไม่ว่าจะเป็นเสาไม้ เสาปูน หรือเสาเหล็ก ในส่วนของเสาต้นแรก ต้นสุดท้าย ตัวเข้ามุม จำเป็นต้องขุดหลุมเทปูนให้แข็งแรง
เนื่องจากเสาต้นแรก ต้นสุดท้าย หรือตัวเข้ามุม ที่เรียกกันว่าชุดรับแรง จำเป็นต้องมีความแข็งแรงเพื่อรับแรงดึงจากรั้วตาข่ายทั้งแนว (แนวตรง) หากเสารับแรงเหล่านี้ไม่แข็งแรงแล้ว การดึงตาข่ายให้ตึงก็ทำได้ยาก นอกจากนั้นแล้ว การตั้งเสารับแรงให้แข็งแรง มีส่วนทำให้ตาข่ายสามารถรับแรงกระแทกได้ดีมากขึ้นด้วย
ขั้นตอนที่ 2: การติดตั้งรั้วตาข่าย
ตามปกติแล้วหากคลี่ตาข่ายออกจากม้วนจะมีปลายลวด (เส้นแนวนอน) ของตาข่ายเหลืออยู่ ให้ทำการใช้ปลายลวดพันอ้อมเสา แล้วกลับมาพันเส้นนั้น ๆ ให้ครบทุกเส้นกับเสาต้นแรก แล้วหลังจากนั้นคลี่ตาข่ายไปจนสุดแนวรั้ว (แนวตรง) แล้วตึงตาข่ายให้ตึงก่อนผูกกับเสาต้นสุดท้าย โดยอาจจะใช้เครื่องมือทุนแรงช่วยดึง เช่น รอกสลิงมือโยก หรือ รอกอื่น ๆ เพื่อให้ตาข่ายสวยงาม ตึงสวย และแข็งแรง แล้วผูกกับเสาต้นสุดท้ายให้ครบทุกเส้นเหมือนกับเสาต้นแรก
ขั้นตอนที่ 3: การติดตั้งเสารั้วไวน์แมน หรือเสาย่อย
• หากเป็นตัวเสารั้วไวน์แมน เสา Y Post หรือเสาเหล็กทั่วไป สามารถสวมสามเกลอเกษตรเพื่อตอกเสารั้ว ให้ลงไปให้ลึกประมาณ 45-70 ซม. ความห่างของเสารั้ว แต่ละต้น ประมาณ 5-8 เมตร (*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดิน)
• แต่หากเป็นเสาปูนทั่วไป ให้ใช้วิธีการขุดหลุมเทปูน ระยะห่างของเสาประมาณ 4-6 เมตร และควรมีชุดรับแรงทุกระยะ 50 เมตร สำหรับเสาปูน
(เคล็ดลับถ้าอยากให้ตาข่ายสวยตั้งแนว ควรให้ความสูงของเสาจากพื้นดินเท่ากันทุกต้น อาจจะดึงเอ็น ให้หัวเสาเท่ากันเป็นหลัก)
ขั้นตอนที่ 4: ผูกตาข่ายติดกับเสา
• สำหรับเสารั้วไวน์แมนสามารถใส่ตาข่ายถักปม/ลวดหนาม ให้เข้ากับเสารั้วไวน์แมนโดยใช้แรงกดเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ลวดลงร่อง ง่ายๆ และรวดเร็ว เนื่องจากเสารั้วไวน์แมน ถูกออกแบบมาให้ติดตั้งรั้วได้ง่ายอยู่แล้ว
• สำหรับเสา Y Post มีลอนตลอดแนวรั้วรับตาข่าย/ลวดหนาม โดยใช้ลวดชุบซิงค์หนาผูกตาข่าย/ลวดหนามเข้ากับเสารั้ว ต้นอาจจะผูกประมาณ 3-5 จุด ขึ้นอยู่กับรุ่นของตาข่ายที่ใช้
• ส่วนถ้าเป็นเสาปูน เสาไม้ หรือ เสาเหล็กทั่วไป ลวดชุบซิงค์หนาผูกตาข่าย/ลวดหนามกับเสา ให้แข็งแรง โดย 1 ต้นอาจจะผูกประมาณ 3-5 จุด ขึ้นอยู่กับรุ่นของตาข่ายที่ใช้
เสาทุกต้นไม่แนะนำให้เชื่อม ให้ใช้วิธีการผูกโดยใช้ลวดผูกจะแข็งแรงที่สุด
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
VDO แนะนำการติดตั้งรั้วตาข่าย - ลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน และการใช้อุปกรณ์ติดตั้งรั้วไวน์แมน
วิธีการการติดตั้งรั้ว โดยใช้รอกสลิงมือโยก และประกับเหล็ก ดึงตาข่ายให้ตึง
วิธีการติดตั้งรั้ว โดยใช้รอกสลิงมือโยก และประกับไม้ ดึงตาข่ายให้ตึง
วิธีใช้ที่พันลวดของไวน์แมน
วิธีต่อรั้วตาข่ายไวน์แมน ในกรณีที่ความยาวไม่พอ
วิธีติดตั้งลวดหนามซิงค์อลูไวน์แมน
ขั้นตอนการติดตั้งรั้วไวน์แมน
ขั้นตอนการติดตั้งรั้วตาข่ายไวน์แมนให้ “ตึง สวย แข็งแรง” มีขั้นตอนง่าย ๆ เพียง 4 ขั้นตอน สามารถทำเองได้ตามขั้นตอนการติดตั้งรั้วตาข่าย ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1: การติดตั้งชุดรับแรง
วิธีการติดตั้งรั้วไวน์แมน หรือรั้วลวดหนาม ตามทั่วไป อันดับแรกเลยคือ
ขุดหลุม ตั้งเสา ไม่ว่าจะเป็นเสาไม้ เสาปูน หรือเสาเหล็ก ในส่วนของเสาต้นแรก ต้นสุดท้าย ตัวเข้ามุม จำเป็นต้องขุดหลุมเทปูนให้แข็งแรง
เนื่องจากเสาต้นแรก ต้นสุดท้าย หรือตัวเข้ามุม ที่เรียกกันว่าชุดรับแรง จำเป็นต้องมีความแข็งแรงเพื่อรับแรงดึงจากรั้วตาข่ายทั้งแนว (แนวตรง) หากเสารับแรงเหล่านี้ไม่แข็งแรงแล้ว การดึงตาข่ายให้ตึงก็ทำได้ยาก นอกจากนั้นแล้ว การตั้งเสารับแรงให้แข็งแรง มีส่วนทำให้ตาข่ายสามารถรับแรงกระแทกได้ดีมากขึ้นด้วย
ขั้นตอนที่ 2: การติดตั้งรั้วตาข่าย
ตามปกติแล้วหากคลี่ตาข่ายออกจากม้วนจะมีปลายลวด (เส้นแนวนอน) ของตาข่ายเหลืออยู่ ให้ทำการใช้ปลายลวดพันอ้อมเสา แล้วกลับมาพันเส้นนั้น ๆ ให้ครบทุกเส้นกับเสาต้นแรก แล้วหลังจากนั้นคลี่ตาข่ายไปจนสุดแนวรั้ว (แนวตรง) แล้วตึงตาข่ายให้ตึงก่อนผูกกับเสาต้นสุดท้าย โดยอาจจะใช้เครื่องมือทุนแรงช่วยดึง เช่น รอกสลิงมือโยก หรือ รอกอื่น ๆ เพื่อให้ตาข่ายสวยงาม ตึงสวย และแข็งแรง แล้วผูกกับเสาต้นสุดท้ายให้ครบทุกเส้นเหมือนกับเสาต้นแรก
ขั้นตอนที่ 3: การติดตั้งเสารั้วไวน์แมน หรือเสาย่อย
• หากเป็นตัวเสารั้วไวน์แมน เสา Y Post หรือเสาเหล็กทั่วไป สามารถสวมสามเกลอเกษตรเพื่อตอกเสารั้ว ให้ลงไปให้ลึกประมาณ 45-70 ซม. ความห่างของเสารั้ว แต่ละต้น ประมาณ 5-8 เมตร (*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดิน)
• แต่หากเป็นเสาปูนทั่วไป ให้ใช้วิธีการขุดหลุมเทปูน ระยะห่างของเสาประมาณ 4-6 เมตร และควรมีชุดรับแรงทุกระยะ 50 เมตร สำหรับเสาปูน
(เคล็ดลับถ้าอยากให้ตาข่ายสวยตั้งแนว ควรให้ความสูงของเสาจากพื้นดินเท่ากันทุกต้น อาจจะดึงเอ็น ให้หัวเสาเท่ากันเป็นหลัก)
ขั้นตอนที่ 4: ผูกตาข่ายติดกับเสา
• สำหรับเสารั้วไวน์แมนสามารถใส่ตาข่ายถักปม/ลวดหนาม ให้เข้ากับเสารั้วไวน์แมนโดยใช้แรงกดเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ลวดลงร่อง ง่ายๆ และรวดเร็ว เนื่องจากเสารั้วไวน์แมน ถูกออกแบบมาให้ติดตั้งรั้วได้ง่ายอยู่แล้ว
• สำหรับเสา Y Post มีลอนตลอดแนวรั้วรับตาข่าย/ลวดหนาม โดยใช้ลวดชุบซิงค์หนาผูกตาข่าย/ลวดหนามเข้ากับเสารั้ว ต้นอาจจะผูกประมาณ 3-5 จุด ขึ้นอยู่กับรุ่นของตาข่ายที่ใช้
• ส่วนถ้าเป็นเสาปูน เสาไม้ หรือ เสาเหล็กทั่วไป ลวดชุบซิงค์หนาผูกตาข่าย/ลวดหนามกับเสา ให้แข็งแรง โดย 1 ต้นอาจจะผูกประมาณ 3-5 จุด ขึ้นอยู่กับรุ่นของตาข่ายที่ใช้
เสาทุกต้นไม่แนะนำให้เชื่อม ให้ใช้วิธีการผูกโดยใช้ลวดผูกจะแข็งแรงที่สุด